ความถี่ของเสียง

เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงสั่น พลังงานจากการสั่นของวัตถุจะถ่ายโอนไปยังอากาศทุกทิศทุกทาง ทำให้อากาศสั่นด้วยความถี่เดียวกับแหล่งกำเนิดเสียงและเท่ากับความถี่เสียง
บางครั้งขณะที่วัตถุสั่นด้วยพลังงานมากพอแต่ความถี่ในการสั่นน้อย เช่น ถือไม้บรรทัดไว้แล้วสั่นไปมาแรงๆ เราจะไม่ได้ยินเสียงจากการสั่น แต่ถ้าดีดปลายไม้บรรทัดที่วางยื่นพ้นขอบโต๊ะเล็กน้อยให้สั่น เราจะได้ยินเสียงและสังเกตได้ว่าไม่บรรทัดจะสั่นด้วยความถี่มากกว่าการใช้มือจับไม้บรรทัดสั่นไปมา
จำนวนรอบที่วัตถุสั่นใน 1 วินาที เรียกว่า "ความถี่" มีหน่วยเป็น "รอบต่อวินาที" หรือ "เฮิรตซ์" (Hz)
การที่เราได้ยินเสียงเมื่อดีดปลายไม้บรรทัดให้สั่น แสดงว่าไม้บรรทัดสั่นด้วยความถี่สูงพอที่จะได้ยินเสียง คือ อยู่ในช่วงความถี่ 20 - 20,000 เฮิรตซ์ ในขณะที่เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ และ สูงกว่า 20,000 เฮิรตซ์ จะเป็นช่วงความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยิน 
สัตว์บางชนิด เช่น 
สุนัข สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 15 - 50,000 เฮิรตซ์ 
แมว ได้ยินเสียงในช่วงความถี่ระหว่าง 60 - 65,000 เฮิรตซ์ 
ค้างคาว ได้ยินเสียงในช่วงความถี่ระหว่าง 10,000 - 120,000 เฮิรตซ์
ความถี่ในการสั่นของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลของวัตถุด้วย กล่าวคือ วัตถุที่มีมวลน้อยจะสั่นด้วยความถี่ที่สูงกว่าวัตถุที่มีมวลมาก ความถี่เสียงที่เกิดจาการสั่นของวัตถุที่มีมวลน้อยจึงสูงกว่าความถี่ของวัตถุที่มีมวลมาก
ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก ชุดการเรียนรู้  คู่มือหนังสือเรียน สสวท. พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 
ที่มา : http://scimath.org/ebook/
ภาพจาก บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ

ที่มา : http://www.mcp.ac.th/e-learning56/p5/term2/science_5/index.php